วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

              การที่จะจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ที่มีความสามารถในด้าน  การคิดวิเคราะห์  การสังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่   ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด   


 มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
               1 .   เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน

               2.    มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว
              3.     เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
              4.     เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
              5 .   เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
             6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคล

              จากหลักการที่ได้กล่าวมานั้น    จะสามารถนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข

แผนการจัดการเรียนรู้


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                      (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว                                                     จำนวน ๘ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง เชี่ยวชาญความรู้                                                    เวลา ๑ ชั่วโมง

มาตรฐาน ท๑.๑   ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต  และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระสำคัญ
         การอ่านในใจเป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวได้เพียงคนเดียว ผู้อ่านต้องใช้สมาธิ สติในการอ่าน ศึกษาคำยาก  ตั้งจุดหมายในการอ่าน อ่านอย่างพินิจ พิจารณาจะทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถตอบคำถาม      ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง และนำไปเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อการเล่าเรื่องและเขียนเรื่องได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
         .     อ่านในใจบทเรียนตามหลักการอ่านในใจที่ดีได้ถูกต้อง
         .    ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
สาระการเรียนรู้      
         .     อ่านในใจบทเรียน เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
         .    การตั้งคำถาม ตอบคำถามของเรื่อง
กระบวนการเรียนรู้
         .     นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ คน เพื่อเล่น ปริศนาคำทาย โดยครูเป็นผู้อ่านปริศนาคำทาย
         .    ร่วมกันสนทนาถึงหลักและวิธีการอ่านในใจ โดยครูแจกใบความรู้ เรื่อง การอ่านในใจ โดยให้ศึกษาหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน
         .    นักเรียนฟังครูแจ้งจุดประสงค์ในการอ่านในใจ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครั้งนี้ เช่น
                  .๑ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
                  .๒สรุปข้อคิด และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้       
         .    แต่และกลุ่มรับใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี  และทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม
         .    แต่ละกลุ่มทำแบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์  เสร็จแล้วส่งครูตรวจ
         ๖.    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว โดยครูเน้นให้นักเรียนนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องความสามัคคี
         .    นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
สื่อ/อุปกรณ์
         .     ปริศนาคำทาย
         .    ใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี
         ๓.   แบบฝึกหัดที่ ๓  เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์
         .    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
แหล่งเรียนรู้
         .     ห้องสมุด
         .    ห้องเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
         .     วิธีการวัดผลและประเมินผล
                  .  การสังเกต
                          การอ่านในใจ
                  .๒ ตรวจผลงาน
                          ..  แบบทดสอบหลังเรียน
                          ..  แบบฝึกหัดที่ ๓
         ๒.   เครื่องมือประเมินผล
                  .     แบบสังเกตการอ่านในใจ
                  .    แบบประเมินการตรวจผลงานการตั้งคำถาม (ใบกิจกรรม)
         ๓.   เกณฑ์การประเมิน
                  .     สังเกตอ่านในใจ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
                  .    การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

ปริศนาคำทาย
จุดประสงค์     .     เพื่อสื่อสารคำและเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้
                          .    เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้
                          .    เพื่อปลุกเร้าใจนักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของข้าว ต้นไม้และชาวนา
วิธีดำเนินการ          .     แบ่งกลุ่มนักเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน
                                   .    ครูอ่านปริศนาคำทายให้แต่ละกลุ่มตอบ
                                   .    กลุ่มตอบได้มากที่สุดถือว่าชนะ (อาจให้รางวัลตามความเหมาะสม)
ปริศนาคำทาย
         อะไรเอ่ย ?
         .     ตัวเล็กสีแดง เรี่ยวแรงแข็งขัน ทำงานขยัน ไม่หวั่นกลัวใคร เด็กรู้บ้างไหมคืออะไรกันหนา (มดแดง)
         .    เป็นสัตว์ตัวโต หูใหญ่ตาเล็ก ผู้ใหญ่และเด็กต่างก็ชอบดู พวกเราเคยรู้ว่าแพ้มดแดง ใครรู้ให้แซงตอบมาทันที (ช้าง)
         .    เป็นสัตว์ใกล้เรา เคล้าแข้งเคล้าขา มันไม่ชอบหมาชอบกินปลาเป็นอาหาร ใครรู้ตอบพลันจะช้าอยู่ใย (แมว)
         .    ชาวอะไรปลูกข้าวให้เรากิน เหงื่อไหลไคลรินอยู่พื้นดินนานมา (ชาวนา)
         .    อากาศร่มเย็นใครเป็นคนทำ ผืนดินชุ่มฉ่ำใครทำให้ดี รู้แล้วตอบทีอย่ามัวรีรอ (ต้นไม้)
         .     เราใช้สร้างบ้านมานานหนักหนา นำมาจากป่ารู้ไหมว่าคืออะไร (ต้นไม้)
         .    สีเขียวงามตา ในป่ามากมี รู้ไหมคนดีสิ่งนี้คืออะไร (ต้นไม้)
         .    จากแรงเป็นรวง เลยล่วงเป็นเมล็ดสุดท้ายเบ็ดเสร็จทำให้เราแข็งแรง มีทุกหนแห่งสิ่งนั้นคืออะไร (ข้าว)





            



กิจกรรมที่10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10

1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น

1)           กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 

  กรณีเขาพระวิหารนี้คิดว่าเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่   ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี ..  2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญหาความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปี ที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็น พื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
2)           กรณีพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย

เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกและกรณีคนไทยถูกจับกุมตัวทั้ง 7 คน ตอนนี้ยังไม่ได้กลับมาจากประเทศไทยอีก

3)           กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร

ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาใช้จะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชาตลอดไปก็เป็นไปได้

4)  กรณีคนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ   (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ใน การแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น

ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแออย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จโดยเร็วจะทำให้คนไทยไมเดือร้องไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป

กิจกรรมที่9

               ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

  การศึกษาจากโทรทัศน์สนทนา เรื่องครูพันธุ์ใหม่       

                           ประเด็นสำคัญ ในบทความเรื่องนี้ คือครูเป็นผู้มีพลังอันยิ่งใหญ่ครูมีพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นอาจมีพลังแต่ไม่เพียงพอ ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศพวกเราสามารถเปลี่ยน         นิสัยใจคอ เปลี่ยนความเชื่อเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนค่านิยมเปลี่ยนพฤติกรรมของศิษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ตลอดจนสามารถเพิ่มคุณธรรมเพิ่มจริยธรรม เพิ่มความรู้เพิ่มสมรรถนะและเพิ่มความอยู่ดีกินดีให้แก่ศิษย์เมื่อเราเปลี่ยนและเพิ่มสิ่งต่างๆ เหล่านี้ในตัวศิษย์ได้คนในประเทศของเราก็จะเปี่ยมล้นด้วยความรู้คู่คุณธรรมประเทศของเราก็จะน่าอยู่ และเติบโตอย่างยั่งยืน

นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่าอาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร

ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อนพัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันมีการพัฒนาตนอยู่เสมอจะต้องเน้นตัวนักเรียนเป็นสำคัญพร้อมเปิดโอกาสเสนอแนะในสิ่งที่ขาดไปเป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก และครูควรติปฏิบัติ เป็นแบบอย่างอันประเสริฐแก่ผู้ประกอบวิชาชีพครูด้วยกันและเน้นเรื่องการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และความถนัดแตกต่างกันได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่แตกต่างและหลากหลาย ครูควรเน้นการเรียนรู้ด้วยการสาธิต การทดลอง การแก้ปัญหา การลงมือปฏิบัติจริง การค้นคว้า และการสร้างความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และรู้ว่าจะถ่ายทอดความรู้และทักษะต่างๆ แก่นักเรียนอย่างไรเพื่อมีพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และยังสามารถทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้โดยง่าย 



กิจกรรมที่8


เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)

ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
แนวทางพัฒนาองค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้

สรุปความหมายความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
             วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรม องค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ



 แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
              แนว คิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล  

  แนวทางพัฒนาองค์การ
              การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure)  วิทยาการสมัยใหม่  (Technology)  ระบบงาน  (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล
   
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ             
          1.การธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงาน
หรือโครงการต่าง ๆ
          2.การกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้อง
กับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ
          3.การพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วน
ทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน
          4.การพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนัก
ว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ



 แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
           เนื่อง จากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการ สั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ